วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

การ์ดจอ

การ์ดจอคืออะไร...? : การ์ดจอ จะเป็นอุปกรณ์เสริม/หรือถูกติดตั้งมาแล้ว เพื่อช่วยในการแสดงผลทางภาพ หรือช่วยเร่งประสิทธิภาพในการแสดงผลทั้งด้าน 2D และ 3D การ์ดจอมี Interface 3 แบบคือ PCI, AGP และ PCI-Express

ชนิดของการ์ดจอที่มีใช้อยู่ปัจจุบัน
ทำไมต้องการ์ดจอ? : การแสดงผลในแต่ละครั้ง คอมพิวเตอร์นั้นต้องการการทำงานด้านการแสดงผลทางภาพ แสง สี และการเคลื่อนไหวสามมิติ แต่ว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ในแต่ละระดับ มันต่างกันว่าประสิทธิภาพจะออกมาเป็นเช่นไร เช่น ผู้ใช้งานระดับทั่วไปต้องการการแสดงผลแบบที่ไม่ต้องก ารรายละเอียดมากเกินไปนัก แต่สำหรับผู้ใช้ในสมัยนี้ คอมพิวเตอร์กลายเป็นศูนย์รวมความบันเทิงที่ดีไปกว่าค อมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยทั่วไป และการแสดงผลทางจอภาพนั้นก็พัฒนาไปมาก จนมีความสมจริง ความละเอียดมากขึ้น สนุกกับสิ่งที่ชอบได้ดังใจยิ่งขึ้น
การ์ดจอถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ช่วยในการแสดงผลได้ด ีกว่า GPU ที่ติดตั้งมาบน Mainboard ด้วยซ้ำ เพราะมันไม่ต้องพึ่งพาหน่วยความจำบน Mainboard ไว้สำหรับทำงานโดยเฉพาะ และทำงานได้เร็ว เพียงแค่การเข้าถึง CPU โดยตรงก็สามารถรับส่งข้อมูลภาพได้อย่างรวดเร็วทันใจอ ยู่แล้ว
บทนำสำหรับคนที่ไม่ใช่เซียนการ์ดจอของยี่ห้อ ATI หรือพระเอกตลอดกาล Nvidia ถ้าเราไม่รู้จักสลอดในการติดตั้ง แล้วเราจะเล่นเกมนี้ได้ยังไง?
ถ้าอยากจะรู้ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีสลอดการ์ดจอติดตั ้งไว้ อย่างแรกก็จำกัดให้เด็ก(อายุต่ำกว่า18ปี)เล่นได้ถึง 22.00 (เกี่ยวกันไหมเนี้ย?)หลังจากนี้แล้วก็สั่งให้เด็กเรา ไปนอนซะ -*- คราวนี้เราจะมาแง้มฝาโลง เอ๊ย!!!~....*0* ฝาเคสคอมพิวเตอร์ คำเตือน ตัดไฟ(220โวลต์)แต่ต้นลมซะ ถ้าไม่อยากขึ้นเชิงตะกอน(เมรุ) ในสาเหตุของไฟดูด...ตาย...ง่า...
เมื่อเปิดฝาเคสคอมพิวเตอร์แล้ว คร้าวนี้ดูให้เต็ม 2 ตาว่าเราใช้สลอดอะไร หรืออ้อมอกแม่...โป้ง..!!! (แม่...ตบหัวผมทะมาย...เจ็บนะ) ไม่ใช่อย่างน้าน อ้อมไปดูหลังเคสคอมฯ ว่ามีพอร์ต DVI หรือพอร์ตอนาล็อกสีน้ำเงินหลังช่องเสียบการ์ดหรือไม่ ถ้าไม่มี แสดงว่าเป็นการ์ดจอออนบอร์ด ถ้ามี แสดงว่ามีการ์ดจอติดตั้งมาด้วยเรียบร้อยแล้ว(อุตสาห์ เสียเงินเก ือบ 4,000 บาทไปซื้อมันมาใส่) หลังจากนี้ถ้าเรายัง ไม่รู้ว่า สลอดติดตั้งป็นแบบอะไร(หรือเรียกอีกอย่างว่า INTERFACE)วันนี้เราจะมา UPDATE ตอนเที่ยงๆ โหน่ย สลอดที่เรานิยมใช้เสียบการ์ดจอ แท่ม แทม แท๊ม... AGP ครับ -*-
AGP คืออะไร?-AGP เป็น Slot ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้าน Graphics โดยเฉพาะ AGP ย่อมาจาก Accelerated Graphics Port เริ่มพัฒนาตั้งแต่ AGP มาจนถึง AGP 8X ที่มีความเร็วสูงสุด 20 GB/s. เทียบกับ PCI ที่มีความเร็วเพียง 66 MB/s. (เร็วกว่ากันประมาณ 300เท่า) , AGP แยกการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วนคือ AGP Slot และ AGP CardAGP Slot คือส่วนที่เป็น Slot ติดตั้งอยู่บน Mainboard มี 6 แบบตามรูป
AGP Card คือส่วนที่เป็น Card แบ่งใหญ่ๆ เป็น 3 ชนิดดังรูป

การติดตั้งการ์ดจอแบบ AGP หากติดตั้งตรงช่อง จะเป็นแบบนี้...(รองบากตรงกันเป๊ะ...)

ถ้าสลอทการ์ดจอไม่ตรง เราจะไม่สามารถติดตั้งลงได้ แบบนี้...(กรณีที่เอาการ์ดจอชนิด AGP 2X ไปใส่ในสลอทการ์ดจอชนิด AGP 8X) ที่มา http://www.mainboardservice.com/to19.htm

ทำไมการ์ดจอ AGP บางรุ่นถึงใส่เข้า Slot บางชนิดไม่ได้? : เนื่องจากกว่า มาตรฐานความเร็วในการรับส่งข้อมูล คือส่งที่จะบ่งชี้ว่า การ์ดจอของคุณ สามารถรันได้กี่ X ด้วยเหตุที่ว่า ถ้าไม่มีร่องบากบนการ์ดจอ จะทำให้ไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า การ์ดจอตัวนี้จะสามารถใส่ได้กับช่องเสียบการ์ดจอชนิด มาตรฐานความเร็วนั้นๆ ได้หรือไม่

ถ้าหากช่องเสียบการ์ดจอเป็นแบบ Universal แต่รันได้ 4X หากนำการ์ดจอที่มีความเร็วสูงกว่า(8X)หรือต่ำกว่า(2X )มาเสียบใช้งาน ประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร? : ถ้าหากนำการ์ดจอที่มีความเร็วในการรับส่งที่สูงกว่าม ามาใส่กับช่องเสียบการ์ดจอที่มีความเร็วต่ำกว่า(แต่ส ามารถรองรับได้ทุกแบบ)ประสิทธิภาพจะเท่ากับช่องเสียบ การ์ดหรือเร็วขึ้นพียงเล็กน้อยครับ แต่...ถ้าหากเอาการ์ดจอที่ความเร็วในการรับส่งต่ำว่า มาเสียบใช้งาน แน่นอนว่าประสิทธิภาพจะลดลงโดยทันทีเมื่อใช้งาน...

สรุป การ์ดจอบางรุ่นมักจะใช้ไฟเลี้ยงจาก PSU โดยตรง โดยที่ไม่ต้องใช้ไฟจาก M/B แต่มีการ์ดจอทุกๆ ค่ายออกมาสนับสนุนวิธีแบบนี้มาก (น่าจะเหมาะกับสลอด AGP แบบ Pro มากกว่า) แต่ในอนาคต สลอดนี้อาจจะกลายเป็นเพียงตำนานไปเลยก็ได้ เพราะมีเทคโนโลยี PCI-X มารองรับแทนซะแล้ว ช่างเสียดายยิ่งนัก...มาดูกันต่อ สำหรับเซียนการ์ดจอตัวจริง จะเจออะไรบ้าง(อาแปะขายเศษเหล็กจาก UPC)

PCI-Express คืออะไร?PCI-Express เป็นมาตราฐานใหม่สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตที่ใ ห้อัตราการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากมาตราฐานการรับ -ส่งข้อมูลด้วยระบบ PCI Bus แบบเดิม โดย PCI-Express สามารถรับ-ส่งข้อมูลในแบบสองทางโดยอาศัยการเชื่อมต่อแบบ Serial ซึ่งแตกต่างจากการรับ-ส่งข้อมูลในระบบ PCI Bus แบบเดิมที่อาศัยการเชื่อมต่อแบบ Parallel และสามารถรับ-สูงข้อมูลได้เพียงทางเดียว Bandwidth เริ่มต้นของ PCI-Express อยู่ที่ 2.5Gb/s ต่อหนึ่งช่องทางการรับ-ส่งข้อมูล นั่นหมายความว่าเราสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ประมาณ 250MB/s ด้วยการรับ-สูงข้อมูลที่รวดเร็วเช่นนี้ทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีก ารรับ-สูงข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น 1394b, USB 2.0, InfiniBand และ Gigabit Ethernet มีระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ที่มารองรับได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น PCI-Express ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ PCI Bus 2.2 ได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

เอาล่ะ...ต่อไปนี้ตั้งใจฟังนะ....PCI-Express หัวใจของมันคือเรื่องของการเชื่อมต่อและการชี้จุดบอก ต่ำแหน่งขอ งการรับ-ส่งข้อมูล PCI-Express ถูกคิดขึ้นมาเพื่อลดอาการรถติด...หรืออาการคอขวด ในการรับ-ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งไปสู่อุปกรณ์อีกชิ้นหนึ ่ ง ระบบการรับ-ส่งข้อมูลแบบ PCI-Express จริงๆแล้วมันถูกรวมอยู่แล้วในตัวอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี ้ได้แก่ Chipset ซึ่งประกอบไปด้วย North Bridge และ South Bridge, Switches และ end-point ในจุดต่างๆซึ่งก็คืออุปกรณ์แต่ละชิ้นซึ่งอาจจะเป็น การ์ดจอ โมเดม ซาวด์การ์ด เป็นต้น ดูรูปประกอบน่ะครับ สิ่งที่ถือ ว่าใหม่และสำคัญๆมากสำหรับระบบการรับ-ส่งข้อมูลแบบ PCI-Express คือเจ้าจราจรทางด่วนหรือที่เรียกว่า Switch

เจ้า Switch นี้แหละเป็นตัวสำคัญ ที่จะคอยบอกและติดต่อกับอุปกรณ์ที่เป็น PCI-Express แต่ละตัว ว่าคุณต้องการติดต่อกับอะไรที่ไหน อย่างไร ด้วยความเร็วเท่าไหร่ โดยช่วยผ่อนเบาภาระของ Chipset หรือ ที่เห็นในรูปจะเป็น Host โดยต้องมีเหตุจำเป็นเท่านั้นถึงจะไปรบกวน Host ได้ เช่นการรับ-สูงข้อมูลนั้นๆต้องไปเกี่ยวของกับหน่วยความจำ เป็นต้น แล้วเจ้า Switch ก็จะคอยทำตัวเป็นคนกลางให้ข้อมูลเหล่านั้นวิ่งไปหากั นได้โดยอิส ระติดต่อกันเองโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับใคร (Point To Point) ...อิอิ

มันไม่พิศดารอะไรอย่างที่คิดกันหรอก เพียงหลักการง่ายๆแต่ลึกซึ้งเท่านี้ก็จะทำให้ พีซีของเราเร็วขึ้นอีกเป็นกอง และนอกจากจะมีเจ้า Switch มาจัดสรรทางวิ่งให้แล้ว อุปกรณ์ที่เป็น PCI-Express แต่ล่ะตัวก็จะมีเครื่องที่แรงไม่เท่ากันก็ไล่ไปตั้งแ ต่ 1x, 2x 4x, 16x และอีกไม่รู้กี่ X อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ชนิดนั้นๆทำหน้าที่อะไร ถ้าเป็นซาวด์การ์ดอาจจะแค่เครื่อง 1X แต่ถ้าเป็นการ์ดจอซึ่งต้องการรับ-ส่งข้อมูลทีละมากๆ ทางวิ่งจึงต้องเยอะๆเครื่องก็ต้องระดับ 16 X นี่ล่ะครับที่มาของความแรงอาแปะขอบอก...

รูปร่างหน้าตาแบบนี้....ชอบม้า...ชอบม้า....


นี่คือหน้าตาของการ์ดจอ PCI-X (ในที่นี้เป็นการ์ดจอยี่ห้อ Leadtek รุ่น PX6600GT)

....... อีกอย่าง ถ้า M/B เรารองรับสลอดใดสลอดหนึ่ง AGP หรือไม่ก็ PCI-X ดูด้วยว่าเราซื้อมาใส่ตรงชนิดหรือเปล่า เพราะถ้าเราซื้อมามั่วสลอด อาจจะต้องเอาไปเปลี่ยน+ตังเพิ่มเขา หรือเขาจะไม่รับสินค้าที่เราซื้อไป มาคืนแน่ๆ ดั้งนั้น เราจะต้องเช็คให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง หรือจะยกโลง....เอ๊ย!!!!(สงสัยอยู่วัดบ่อย)เคสคอมพิว เตอร์ไปให้ เขาดูก็ได้.....เชื่อผม

ปล. อย่าอุตริเอาการ์ดจอ AGP มาใส่ร่วมกับ PCI-Express อย่างในภาพนี้โดยเด็ดขาด(ขาวสามด้านน่ะเหรอ...จงจำเอ าไว้)


มีเทคโนโลยีอะไรที่ทำให้การ์ดจอทั้ง 2 ตัวทำงานร่วมกันได้? : การ์ดจอ PCI-X สามารถต่อเข้ากับการ์ดจออีกตัวหนึ่งได้โดยมี Bridge ต่อร่วม เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า SLI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Nvidia

แต่อีกวิธีหนึ่งก็คือ ต่อสาย Cable bridge เข้ากันกับการ์ดจออีกตัวหนึ่ง เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า X-Fire ซึ่งเป็นเทคโนโลยีมาจาก ATI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น